สำนักงานสาธารณสุขอำเภอโนนแดง

เป็นองค์กรหลักด้านสุขภาพที่รวมพลังสังคม เพื่อประชาชนสุขภาพดี

ผู้บริหาร

สสอ.โนนแดง

นายอรุณ  ประจิตร

สาธารณสุขอำเภอโนนแดง

ค้นหา

จำนวนผู้เยี่ยมชม

240263
วันนี้วันนี้75
เมื่อวานนี้เมื่อวานนี้54
สัปดาห์นี้สัปดาห์นี้439
เดือนนี้เดือนนี้1965
ทั้งหมดทั้งหมด240263
IP ของคุณ :3.12.107.29
เริ่มนับ 9 มกราคม 2556
ลักษณะสำคัญขององค์กร


หมวด P ลักษณสำคัญขององค์กร

1.ก.

(1) พันธกิจหรือหน้าที่ตามกฎหมาย

1.จัดทำแผนยุทธศาสตร์ด้านสุขภาพในเขตพื้นที่จังหวัด

2.ดำเนินการและให้บริการด้านการแพทย์และการสาธารณสุขในเขตพื้นที่จังหวัด

3.กำกับ ดูแล ประเมินผล และสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานสาธารณสุขในเขตพื้นที่จังหวัด เพื่อให้การปฏิบัติงานเป็นไปตามกฎหมายมีการบริการสุขภาพที่มีคุณภาพและมีการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ

4.ส่งเสริม สนับสนุน และประสานงานเกี่ยวกับงานสาธารณสุขในเขตพื้นที่จังหวัดให้เป็นไปตามนโยบายของกระทรวง

5.พัฒนาระบบสารสนเทศ งานสุขศึกษา และการสื่อสารสาธารณสุขด้านสุขภาพในเขตพื้นที่จังหวัด

6.ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย
ไฟลฺแนบ หมวด P

(2) วิสัยทัศน์และค่านิยม

วิสัยทัศน์ :  เป็นองค์กรหลักด้านสุขภาพอันดับหนึ่งของภาคอีสาน

ค่านิยม   :  KORAT MOPH

KORAT : องค์กรแห่งการเรียนรู้   มุ่งสู่ผลสัมฤทธิ์ จิตบริการ ทำงานเป็นทีม เป็นแบบอย่างที่ดี ด้านสุขภาพ

MOPH  : เป็นนายตนเอง เร่งสร้างสิ่งใหม่ ใส่ใจประชาชน ถ่อมตนอ่อนน้อม

อัตลักษณ์ : ซื่อสัตย์  สามัคคี  มีวินัย

สมรรถนะหลักขององค์การ

1.ความเชี่ยวชาญด้านการบริหารแผนยุทธศาสตร์ด้านสุขภาพ และการจัดการระบบสุขภาพในระดับจังหวัดนครราชสีมา

2.ความเชี่ยวชาญด้านการรักษาพยาบาล การส่งเสริมสุขภาพ การเฝ้าระวังควบคุมป้องกันโรค    การฟื้นฟูสุขภาพ  การ

คุ้มครองผู้บริโภค และการตอบโต้ภาวะฉุกเฉินการแพทย์และสาธารณสุข

3.ความเชี่ยวชาญด้านการจัดระบบเทคโนโลยีสารสนเทศด้านสุขภาพ

4.ความเชี่ยวชาญการทำงานแบบมีส่วนร่วมด้านสุขภาพ

(3) ลักษณะโดยรวมของบุคลากร

จำนวนบุคลากร 32  คน   จำนวนอสม. 555 คน

สำนักงานสาธารณสุขอำเภอโนนแดง มีบุคลากรรวมทั้งสิ้น 32  คน มีบุคลากร 2 สายงาน ประกอบด้วย สายวิชาชีพ ได้แก่ พยาบาล
นักวิชาการสาธารณสุข เจ้าพนักงานสาธารณสุข และทันตาภิบาล  คิดเป็นร้อยละ 67.74 และ สายสนับสนุน  เช่น เจ้าหน้าที่ธุรการ
พนักงานผู้ช่วยเจ้าหน้าที่สาธารณสุข พนักงานผู้ช่วยงานสถานีอนามัย/ผู้ช่วยแพทย์แผนไทย/พนักงานบริการ คิดเป็นร้อยละ 32.26
บุคลากรส่วนใหญ่เป็นข้าราชการ ร้อยละ 54.84 รองลงมา เป็นพนักงานกระทรวงสาธารณสุข(พกส.) และลูกจ้างรายเดือน/รายวัน
ร้อยละ 29.03 และ 9.68 ตามลำดับ และน้อยที่สุดเป็นลูกจ้างรายวัย ร้อยละ 6.45  การศึกษา ระดับปริญญาโท ร้อยละ 3.13
ระดับปริญญาตรี ร้อยละ 65.23 ต่ำกว่าปริญญาตรี ร้อยละ 31.25 และมี อสม.ทั้งหมด 555 คน
(4) สินทรัพย์

ที่ดิน  ทั้ง สสอ.และ รพ.สต.4แห่ง ตั้งบนที่ราชพัสดุ  5 แปลง มีเนื้อที่ทั้งหมด   14 ไร่  0 งาน 46 ตารางวา

สถานบริการ สสอ.มีอาคาร สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ 1 แห่ง และบ้านพัก 1 หลัง ตั้งบนที่ราชพัสดุ เลขที่ นม 1793 เนื้อที่ 1-2-26 ไร่

อาคาร สถานีอนามัย(โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล รพ.สต.) 4 แห่ง  บ้านพัก  8 หลัง

สิ่งอำนวยความสะดวก  สถานที่จอดรถยนต์สำหรับผู้พิการ,     ห้องน้ำสำหรับผู้พิการ,

ทางลาดสำหรับผู้พิการ ผู้สูงอายุ,       ห้องประชุมต่างๆ  ห้อง Tele-conference

บ้านพัก /แฟลต ของหน่วยบริการ        อาคารกีฬารวมใจ,อาคารสหกรณ์บริการ

ห้องสมุด  อาคารฝึกอบรม/สถานที่เรียน,ระบบรักษาความปลอดภัย

หมายเหตุ รายละเอียดตามภาคผนวก

อุปกรณ์     ยานพาหนะ รถยนต์ขนาดบรรทุกไม่เกิน 1.5 ตัน 6 คัน รถจักรยานยนต์ความจุกระบอกสูบไม่เกิน

100 CC  เครื่องกำเนิดไฟฟ้า เครื่องปรับอากาศ    โทรศัพท์, เครื่องเสียง ฯลฯ

อุปกรณ์ด้านการส่งเสริมสุขภาพ ได้แก่ ลานออกกำลังกาย อุปกรณ์ออกกำลังกาย

อุปกรณ์ด้านการควบคุมป้องกันโรค ได้แก่ เครื่องพ่นหมอกควัน

อุปกรณ์ด้านการฟื้นฟูสภาพ ได้แก่ เครื่องกายภาพบำบัด เครื่องฟิตเนส

อุปกรณ์ด้านการคุ้มครองผู้บริโภค ได้แก่ อุปกรณ์ตรวจสารปนเปื้อน รถตรวจสารเคลื่อนที่

อุปกรณ์ด้านการตอบโต้ภาวะฉุกเฉิน ได้แก่ วิทยุ-เครื่องมือสื่อสาร

อุปกรณ์ความปลอดภัย ได้แก่ อุปกรณ์ตรวจสารปนเปื้อน ชุดป้องกันโร,ค รถตรวจสารเคลื่อนที่

อุปการณ์ IT  ได้แก่ คอมพิวเตอร์ โปรเจกเตอร์ ปรินเตอร์ ระบบ Video Conference,

โปรแกรมต่างๆ อาทิ โปรแกรม Korat Report โปรแกรมบันทึกข้อมูลสุขภาพ Hos_xp PCU / โปรแกรมเงินเดือนเจ้าหน้าที่ และ website : nondaenghealth.org

(5) กฎหมาย กฎระเบียบ และข้อบังคับ

กฎหมาย กฎระเบียบ และข้อบังคับ

ด้านบริการ

-พระราชบัญญัติสถานประกอบโรคศิลปะ พ.ศ. 2542 /ว่าด้วย การประกอบโรคศิลปะ

-พระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 และแก้ไขเพิ่มเติม/ว่าด้วยการคุ้มครองด้านสุขลักษณะและการอนามัยสิ่งแวดล้อม

-พระราชบัญญัติคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย พ.ศ.๒๕๔๒/ว่าด้วยการคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย

-พระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. ๒๕๕๐/ว่าด้วยการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ

-พระราชบัญญัติยา พ.ศ.2561 / ว่าด้วยเรื่องยา

-พระราชบัญญัติอาหาร,พระราชบัญญัติเครื่องสำอางพ.ศ. ๒๕๕๐

-พระราชบัญญัติการแพทย์ฉุกเฉิน พ.ศ.2551

-พระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558

-พระราชบัญญัติอำนวยความสะดวก พ.ศ.2558

-พระราชบัญญัติสถานประกอบการเพื่อสุขภาพ พ.ศ. 2559

-พระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ.2560

ด้านบริหาร

-พระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติแห่งชาติ พ.ศ.2545

-ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับพื้นที่ พ.ศ.2561

(6) โครงสร้างองค์การ

สสอ.โนนแดง จังหวัดนครราชสีมา จัดโครงสร้างและจัดระบบกำกับดูแลส่วนราชการตามรูปแบบที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด



(7) ผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

ผู้รับบริการ:

1.ประชาชนกลุ่มเป้าหมายทุกช่วงวัย และประชาชนกลุ่มเสี่ยง

2.ผู้ด้อยโอกาส คนพิการ

3.บุคลากรสาธารณสุข

4.ผู้ประกอบการด้านผลิตภัณฑ์ด้านสุขภาพ

5.กลุ่มที่ติดต่อราชการต่างๆ

ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

1.ผู้รับบริการด้านสาธารณสุขทั้งภาครัฐ และเอกชน ทั้งทางตรงและทางอ้อม

2.ผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์สุขภาพ

3.ผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการให้บริการ

4.บริษัทที่เข้าร่วมสืบราคายาและเวชภัณฑ์

5.ผู้ประกอบการอื่นๆ อาทิ ผู้รับเหมา ผู้จำหน่ายสินค้าทั่วไป

(8) ส่วนราชการหรือองค์การที่เกี่ยวข้องกันในการให้บริการหรือส่งมอบงานต่อกัน

ส่งมอบ :

1.หน่วยงานจัดหายา เวชภัณฑ์ และครุภัณฑ์ทางการแพทย์

2.หน่วยงานรับจ้างเหมาบริการ /จ้างเหมาอื่นๆ

3.หน่วยงานด้านสาธารณูปโภค

พันธมิตร :

1.สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเขต 9

2.สำนักงานเขตสุขภาพที่ 9 ศูนย์วิชาการด้านสุขภาพ ต่างๆด้านสุขภาพ

3.โรงพยาบาลในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขนอกสังกัดองค์การ อาทิ รพ.แม่และเด็ก รพ.จิตเวชรพ.นอกจังหวัด

4.โรงพยาบาล/หน่วยบริการสุขภาพนอกสังกัดกระทรวงสาธารณสุข อาทิ รพ.มหาวิทยาลัยต่างๆ รพ.ค่ายสุรนารี  รพ.เอกชน สาธารณสุขเทศบาล ฯลฯ

5.อาสาสมัครสาธารณสุข อาสาสมัครกู้ชีพกู้ภัย

6.ผู้ดูแลผู้ป่วย

ผู้ให้ความร่วมมือ :

1.สถาบันการศึกษา อาทิ วิทยาลัยพยาบาลนครราชสีมา มหาวิทยาลัยต่างๆ มหาวิทยาลัยเอกชนในพื้นที่จังหวัด

2.องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทุกระดับ

3.หน่วยงานราชการนอกสังกัดกระทรวงสาธารณสุข อาทิ ก.มหาดไทย ก.กลาโหม

ก.ศึกษาธิการ พมจ.  ก.เกษตรและสหกรณ์ ก.แรงงาน สรพ

4.หน่วยงานหรือองค์การเอกชนต่างๆ อาทิ  NGO

(9) สภาพแวดล้อมด้านการแข่งขันทั้งภายในและภายนอกประเทศ

สสอ.โนนแดง จังหวัดนครราชสีมา ได้เทียบเคียงความท้าทาย 6 เรื่อง

1.อายุคาดเฉลี่ยเมื่อแรกเกิด (LE) อายุคาดเฉลี่ยการมีสุขภาพดี (HELE) ยังไม่ถึงเป้าหมาย พบว่า อำเภอโนนแดง จังหวัด

นครราชสีมา LE  ยังไม่ถึงเป้าหมายคือ 85 ปี  โดยผู้ชายอยู่ 71 ผู้หญิงอยู่ที่ 78.1  ซึ่งต่ำกว่าบุรีรัมย์

2.อัตราไข้เลือดออก ยังสูง

3.อัตราป่วยและอัตราตายโรคไม่ติดต่อที่สำคัญลดลง

4.การพัฒนาคุณภาพองค์การ (HA/ รพ.สต ติดดาว/ PMQA)

5.บุคลากรมีความผาสุกในการทำงาน

6.การประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ (ITA)  พบว่า ปี 2562 อำเภอ

โนนแดง ได้คะแนนต่ำกว่า สสอ.สีดา

(10) การเปลี่ยนแปลงด้านการแข่งขัน

ปัจจัยที่ทำให้ประสบผลสำเร็จ

1.มีการนำโปรแกรมKorat Report มาใช้ในการวางแผน และตัดสินใจของผู้บริหาร

2.เป็นลูกข่าย NODE แม่และเด็ก

2. มีการแพทย์ฉุกเฉินที่เป็นเลิศ มีระบบการแพทย์ทางไกล(Tele Graphic medicine) มีทีมปฏิบัติการครอบคลุมทุกพื้นที่ โดยบูรณาการทุกภาคส่วน)

3.มีศูนย์การแพทย์ และผู้เชี่ยวชาญครบทุกสาขาในภาคอีสาน

4.มีระบบเฝ้าระวังควบคุมโรคติดต่อและศูนย์ตอบโต้ภาวะฉุกเฉิน ที่มีประสิทธิภาพ

ปัจจัยที่มีผลต่อสภาพการแข่งขัน

1. เป็นอำเภอที่มีทั้งภัยแล้งและภัยน้ำท่วมในปีเดียวกัน ส่งผลด้านเศรษฐกิจ คมนาคม

2.การเพิ่มมากขึ้นของแรงงานต่างด้าวซึ่งอาจมีผลต่อการเจ็บป่วย โรคระบาด

3.การเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ

4.การเกิดโรคอุบัติซ้ำเพิ่มขึ้น

5.ภาวะสุขภาพจิตที่ซึมเศร้าทำให้มีแนวโน้มฆ่าตัวตายสูง

(11) แหล่งข้อมูลเชิงเปรียบเทียบ

แหล่งข้อมูลเชิงเปรียบเทียบ

1.รายงานประจำปีของจังหวัด

2.รายงานโปรแกรม HDC / Korat Report

3.รายงานประจำปีของกระทรวงสาธารณสุข

4.รายงานประจำปีของสำนักงานหลักประกันสุขภาพ

5.รายงานของสำนักระบาดวิทยา

6.ผลสำรวจสภาวะสุขภาพของจังหวัดนครราชสีมา

2.ข.

(12) ความท้าทายเชิงยุทธศาสตร์และความได้เปรียบเชิงยุทธศาสตร์

ความท้าทายเชิงยุทธศาสตร์

ด้านพันธกิจ          การพัฒนาคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตอำเภอให้ครอบคลุมทุกพื้นที่/การพัฒนา PCC ตามเป้าหมาย100 %

ด้านการปฏิบัติการ  พัฒนาหน่วยบริหารให้ได้มาตรฐาน PMQA ในปี 2563  พัฒนา รพ.สต.ให้ได้มาตรฐาน 5 ดาว 5 ดี ให้ได้ 100%

ด้านบุคลากร         การธำรงรักษาบุคลกรให้อยู่ในระบบให้ได้ร้อยละ 98

การเพิ่มขีดความสามารถและศักยภาพบุคลากรในด้านสมรรถนะหลัก และด้านต่างๆ เช่น การสื่อสารได้หลายภาษา การพัฒนาทักษะด้านดิจิทัล และ ระบบ IT

การสร้างและเตรียมความพร้อมบุคลากร ให้เกิดความต่อเนื่องในการบริหารให้ได้ครบทุกตำแหน่งทางบริหาร

ด้านสังคม            การสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพ(Health Literacy) /การจัดระบบการดูแลสังคมผู้สงอายุ เด็ก สตรี ผู้พิการ /การสร้างความเข้มแข็งการจัดการสุขภาพในชุมชน

ความได้เปรียบเชิงยุทธศาสตร์

ด้านพันธกิจ          มีกฎหมาย กฎระเบียบ ที่เอื้อต่อการบรรลุพันธกิจ

มีแผนยุทธศาสตร์ด้านสุขภาพระดับประเทศ 20ปี

มีอุปกรณ์ เครื่องมือ และโปรแกรมสารสนเทศ ที่เอื้อต่อการทำงาน

ด้านการปฏิบัติการ  เชื่อมศูนย์การแพทย์ที่เชี่ยวชาญทุกสาขา มีโรงเรียนแพทย์ 2 แห่ง

ด้านบุคลากร         เป็นคนท้องถิ่น รักษ์องค์กร และมีสมรรถนะสูง

ด้านสังคม            เป็นทางผ่านประตูสู่อีสาน การคมนาคมสะดวก เป็นสังคมผสมผสาน

2.ค.

(13) ระบบการปรับปรุงผลการดำเนินการ

ระบบการปรับปรุงผลการดำเนินการ

1.การใช้ข้อมูลเชิงประจักษ์ ผ่านระบบ KORAT REPORT / HDC / สปสช.

2.การพัฒนาคุณภาพองค์กร ด้วย PMQA  HPH CQI  PDCA  รพ.สต.ติดดาว G&C Hospital

3.การพัฒนางานวิจัย KM R2R R&D Best Practice

4.การใช้เครื่องมือในการจัดทำแผนปฏิบัติการด้วย Six Building Block ,PIRAB

5.การใช้ Bench Marking กับอำเภอที่มีผลงานเด่น

6.การประเมินระบบควบคุมโรคเข้มแข็งระดับพื้นที่


 
Joomla 1.5 Templates by Joomlashack